สิ่งสำคัญภายในวัด
กดที่นี่...ทางจงกรม ที่ กุฎีพระเถระ ภายใน วัดป่าดงใหญ่ บ้านแดงหม้อ

  อานิสงส์ของการเดินจงกรม        จาก จังกะมะ สูต อังคุตตะระนิกาย ปัญจะ

      (พระพุทธเจ้า ตรัสสอนว่า)  ดูกร ภิกษุทั้งหลาย  อานิสงส์ในการเดินจงกรม ประการนี้  ใน  ประการนี้  เป็นไฉน ?..

  1.     คือ ภิกษุผู้เดินจงกรม ย่อมเป็นผู้ที่มีความอดทนต่อการเดินทางไกลที่มีระยะทางไกล ๆ   อดทนกับระยะเวลาที่ยาวนาน ทำงานได้ทน ทนได้ทุกงาน เมื่อเราอดทน จะเป็นทางไปสู่สวรรค์ นิพพาน ทำให้คนทั่วไปยอมรับนับถือในความอดทน ใจเย็น รอบคอบ ไม่บุ่มบ่าม มีเหตุ มีผล  อีกทั้งเทวดาก็รักเรา เมื่อเรา มีความอดทนฯ

 

  1. ย่อมเป็นผู้อดทนต่อการบำเพ็ญเพียร  ทนต่อการภาวนา  ฝึกกรรมฐาน ทนการถือธุดงค์ ทนต่อความเพลีย ความโกรธ  โลภ หลง อิจฉา  ทนต่อมานะที่เป็นกิเลส  ทนการทดสอบ  ทนยอมรับฟังคำสอนได้อย่างเข้าใจดี      ทนต่อการนั่ง    ยืน  ก้ม  เงย     ทนต่อการฟังเพื่อฆ่ากิเลสให้บรรลุธรรมได้ง่าย   ไม่เมื่อย  ไม่ขัด   ยอก    ไม่บ่น    ไม่ท้อแท้    ไม่รำคาญ   มีใจที่เพลิดเพลินในการภาวนาฆ่ากิเลสฯ จนกว่าจะบรรลุนิพพาน  ที่แสนสุข  สบาย

 

  1. ย่อมเป็นผู้มีอาพาธน้อย  ไม่ป่วย  ไม่อ้วน ไม่ฉุ  ไม่อ่อนแอ  หุ่นดี   สมส่วนสัด   น่าดู   น่าชม   แข็งแรง  เข้มแข็ง  ทำงานได้แทบทุกอย่างที่ไม่ผิดศีล ว่องไว รวดเร็ว กระฉับกระเฉง ไม่อืดอาด ไม่ง่วงนอน

 

  1. อาหารที่กินดื่ม เคี้ยว ลิ้ม  ฉัน รับประทานแล้วย่อมย่อยได้ง่ายดี   ทำให้อายุยืน เพราะอาหารย่อยง่าย  เพิ่มการออกกำลังกาย  บริหารกาย  สุขภาพดี ฯ         จากหลักการนี้ แพทย์ในปัจจุบันก็น่าจะเอาไปจากหลักการที่ พุทโธ (ซึ่งท่านเคยเป็นอดีตนายแพทย์ใหญ่) ได้นำมาสั่งสอนไว้ในพระไตรปิฎกมาก่อนๆ แล้ว   นี่เอง

 

  1.  จิตที่เป็นสมาธิที่ได้เพราะการเดินจงกรมนี้    ย่อมจะตั้งสมาธิอยู่ได้นาน     ทรงสมาธิอยู่ได้นาน  นิมิตก็แน่วแน่ เพราะว่า ถ้าได้สมาธิ  ได้ความสงบ  ได้ปีติ หรือได้นิมิตจากการเดินจงกรมซึ่งเป็นท่าที่เคลื่อนที่ เดินกลับไป กลับมา ๆ แล้ว   เมื่อจะไปนั่ง ไปยืน นอน หรือท่าอื่น ๆ การรักษา - ทรงสมาธิไว้ก็จะทำได้ง่าย  เพราะเป็นท่าที่ไม่ต้องเคลื่อนที่  เป็นท่านิ่งๆ ใจก็จะมีความแน่วแน่    ใจที่มีสมาธิแล้ว จะทนต่อการกระทบทางตากับรูป  หูกับเสียง  จมูกกับกลิ่น  ลิ้นกับรส ทางร่างกายกับการแตะต้องสัมผัส  กระทบ  และทนในทางใจที่คิดๆ  ทนต่อผัสสะต่างๆ เมื่อเราจะไปนั่ง ยืน ไปทำวัตร  ไปทบทวนความรู้ที่ได้เรียนมา   เช่น  นักเรียน  นักศึกษา  หรือไปภาวนา   ไปทำงานอื่น ๆ       อ่านหนังสือ   อ่านพระไตรปิฎก  พิจารณาธรรมตามบทธรรม ต่างๆที่เราสนใจ  เพื่อให้บรรลุธรรมเร็วๆ ก็จะทำได้ง่าย ราบรื่น                

                                ดูกรภิกษุทั้งหลาย   นี้คือ อานิสงส์ในการเดินจงกรม ประการแล

 

( ผู้ที่เสนอให้พระ และนักภาวนาทั้งหลาย เดินจงกรม (+โรงอบกาย) ก็คือ หมอชีวก โสดาบัน เมื่อสองพันห้าร้อยกว่า กว่าปีมาแล้ว  

        เพื่อแก้ร่างกายที่ประกอบด้วยโทษ มีโรคมาก เช่น โรค เสมหะ อ้วน ไขมัน ฯลฯ จากพระไตรปิฎก  วินัยปิฎก  จุลวรรค  ทุติยภาค  เล่ม ๙/๗๙/๒๙ ชุด ๙๑ เล่ม )

 

 จากวัดป่าดงใหญ่ ถนน ๒๔๐๘ ก.ม. ๕+๗๑๒ ม. เลขที่ ๑๓๕ หมู่ ๒ บ้านแดงหม้อ ตำบลแดงหม้อ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ๓๔๑๕๐ สอนเพื่อความสุขจากอริยะทั้ง ๘

             

                           ลักษณะของทางจงกรมที่ดี     อย่าง    คือ

  1.  พื้นทางจงกรมที่เรียบ ไม่ขรุขระ ไม่แข็ง  ถ้ามีหลุม   เป็นแอ่ง แข็งมาก  มีหิน  ดิน   เศษไม้   รากไม้  ตอไม้  เศษกระเบื้องหรืออย่างอื่น  มีร่อง  เมื่อจะเดิน  จะวางเท้าก็ไม่สะดวก จิตก็จะไม่ได้เอกัคคะตา คือไม่เป็นอารมณ์เดียว ไม่ได้สมาธิ     จะแก้ฟุ้งซ่านไม่ได้  ข่มกามราคะไม่ได้   กรรมฐานไม่เจริญ     บางที่อาจจะเกลี่ยทางเดินด้วยทรายให้พื้นเรียบ ไม่เอียงไม่สะดุด   สะดวกในการเดิน แต่ว่า..   พระจะขุดดินเหนียวเองไม่ได้  ก็ให้โยมหรือสามเณรช่วยทำ จะเป็นบุญกับโยมมาก     โดยพระ จะพูดด้วยคำพูดที่ไม่ผิดวินัย     ส่วนดินที่พระขุดได้   ไม่ผิดพระวินัย  ก็คือ  ดินทราย หิน หรือดินที่เพิ่งจะมีการเทใหม่ ๆ ภายใน ๔  เดือน ที่ไม่มีตัวสัตว์เล็ก ๆ   ไม่มีต้นไม้  ไม่มีรากไม้ที่ยังไม่ตาย Word Document ดาวน์โหลดไฟล์   ขนาดไฟล์ 202 KB
โพสเมื่อ : 25 ต.ค. 2556,21:39   อ่าน 2592 ครั้ง